วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย








วัฒนธรรมไทย หรือ วัฒนธรร

หมายถึง วิถีแห่งการดำรงชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ นับตั้งแต่การดำรงชีวิติในแต่ละวัน การกิน การอยู่ การแต่งกาย การพักผ่อน การทำงาน การจราจรการขนส่ง การแสดงอารมณ์ การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งวิถีชีวิตนั้น เริ่มมาจากการที่มีต้นแบบ อาจจะเป็นตัวบุคคลแล้วมีคนส่วนใหญ่ หรือประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยและ ปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ดีงามเพื่อดำรงไว้ซึ่ง วัฒนธรรมไทย ตราบจบชั่วลูกชั่วหลาน


วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อคนไทยและสังคมไทยหลายประการ ดังนี้





1. เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญและเชิดชูเกียรติของบุคคลและประเทศชาติ
2. เป็นเครื่องที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติและดำรงความเป็นชาติไทย

3. เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข

4. เป็นเครื่องช่วยให้คนไทยภูมิใจในชาติไทย

5. เป็นเครื่องช่วยในการสร้างสัมพันธ์กับนานาชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกันและนำมาปรับใช้กับสังคมไทย


ลักษณะของวัฒนธรรมไทย

1. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม นับตั้งแต่อดีตคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย เช่น พิธีแรกนาขวัญ พิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น


2. วัฒนธรรมไทยมีแบบแผนทางพิธีกรรม มีขั้นตอน รวมถึงองค์ประกอบในพิธีหลายอย่าง เช่นการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพ พิธีมงคลสมรส เป็นต้น


3. วัฒนธรรมไทยเป็นความคิด ความเชื่อ และหลักการ ที่เป็นองค์ความรู้ซึ่งเกิดจากการสั่งสมและสืบทอดกันมา เช่นความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และศาสนา ค่านิยมการรักนวลสงวนตัวของสตรี เป็นต้น


4. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน นอกจากคนไทยจะมีวัฒนธรรมเป็นของตนแล้ว ยังมีการรับวัฒนธรรมของชาติอื่นมาด้วย เช่น การไหว้ จากอินเดีย การปลูกบ้านโดย ใช้คอนกรีต จากวัฒนธรรมตะวันตก หรือการทำสวนยกร่อง จากวัฒนธรรมจีนเป็นต้น


5. วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินชีวิต บรรทัดฐานทางสังคม ศิลปกรรม วรรณกรรม พิธีกรรม ตลอดจนประเพณีต่างๆ เช่น การตักบาตรเทโว ประเพณีการตักบาตรเทโว ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีถวายสลากภัต เป็นต้น จนอาจกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญต่อลักษณะทาง วัฒนธรรมไทย






การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

การอนุรักษ์วัฒธรรมไทยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้


1. ศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้ ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต เพื่อให้เห็นคุณค่า ทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป

2. ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม


3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม

4. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน


5. สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน

6. จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ สามารถเลือกสรร ตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย




การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยต่างๆ

- งานบุญเทศน์มหาชาติ
ประเพณีที่ทำสืบทอดกันมาแต่โบราณเชื่อกันว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์ผะเหวด หรือเทศน์มหาชาติจบทั้ง 13 กัณฑ์และนครกัณฑ์) ภายในวันเดียวและบำเพ็ญความดีผลบุญที่ผู้นั้นได้กระทำลงไป) จะส่งให้บุคคลนั้นได้ไปเกิดร่วมชาติเดียวกับพระพุทธเจ้า

- ประเพณี "ปอยส่างลอง" หรือ "ประเพณีบวชลูกแก้ว"
เป็นประเพณีประจำปีของชาวไตหรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชายที่มีอายุครบบวชเข้าบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อกล่อมเกลาให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไป

- ประเพณีสงกรานต์
ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณช่วงวันสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนา

- บุญบั้งไฟ
เป็นประเพณีประจำปีของชาวภาคอีสาน ที่สืบเนื่องมาจากพิธีการขอฝนของพญาแถน หรือเทวดา โดยจัดพิธีจุดบั้งไฟเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

- พิธีแรกนาขวัญ หรือ"พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ"
เป็นพระราชประเพณีสำคัญ ที่ทำเพื่อเสริมสร้างให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ ความหมายของพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญก็เพื่อต้องการให้พืชพันธุ์ธัญญาหารในพระราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์ตลอดฤดูกาลที่ทำการเพาะปลูก

- งานตานก๋วยสลาก หรือกิ๋นก๋วยสลาก หรือกิ๋นข้าวสลา
เป็นประเพณีคล้ายกับสลากภัตรของชาวไทยภาคกลาง ต่างกันในด้านการปฏิบัติและพิธีกรรมเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่แล้วคือการให้ทาน ถวายข้าวของให้แก่ ภิกษุสามเณร เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปสู่ปรโลก รวมไปถึงเจ้ากรรมนายเวร และสามารถจะอุทิศผลานิสงฆ์นี้ไปเป็นเนื้อนาบุญให้กับตัวเองในภายภาคหน้า ซึ่งเป็นความเชื่อมาแต่บรรพบุรุษ เพื่อว่าชาติหน้าจะได้มีกินมีใช้ มั่งมีศรีสุข



การอนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านต่างๆ



- การเล่นหมากเก็บ
- การเล่นหมากขุม
- การเล่นม้าก้านกล้วย
- การเล่นวิ่งเปรี้ยว
- การเล่นรีรีข้าวสาร
- การเล่นยักเย่อ
- การเล่นมอญซ่อนผ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น